มะม่วงหิมพานต์ รสชาติใหม่ที่ต้องลอง


มะม่วงหิมพานต์  Cashew

                     การไปเที่ยวภาคใต้คราวนี้ นอกจากได้สัมผัสธรรมชาติอันสวยงามแล้ว  ยังได้ลิ้มลองรสชาติของใบมะม่วงหิมพานต์เป็นของแถม
                    เคยได้รู้และได้ยินมาว่า ถ้าอยากลิ้มลองรสชาติของใบมะม่วงหิมพานต์ให้ลองสอดส่องสายตามองไปที่กระจาดผักเหนาะของขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ หรือผักแกล้มจิ้มพริกปลาร้า แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เคยได้ลิ้มลอง
                จนคราวนี้เองที่ได้ล่องใต้สัมผัสน้ำยาปักษ์ใต้ของแท้   รสชาติดุเดือด  เผ็ดเสียจนหุบปากแทบไม่ลง มือซ้ายก็ฉวยใบไม้ใบหนาๆ ผิวใบมันๆ สีเขียวเข้ม รูปไข่ ใส่ปาก
เคี้ยวไปพร้อมกับขนมจีน
                  ใบอะไร ฝาดหน่อยๆ อร่อยดี มีกลิ่นหอมแถมพกมาหน่อยๆ ด้วย
                  ขนมจีนน้ำยารสเผ็ดจัด คนที่ไม่คุ้นเคยอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนได้เหมือนกัน แต่ลองได้แกล้มกับใบมะม่วงหิมพานต์แล้ว ด้วยความฝาดเล็กน้อยนี้เองจะช่วยบรรเทาอาการปั่นป่วนในท้อง ท้องร่วงได้ชะงัดนัก
                 เมื่อสืบสาวถึงต้นกำเนิดแล้ว มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ดั้งเดิมของชาวบราซิล อยู่ร่วมวงศ์กับมะม่วงทั้งหลายราว พ.. 2444 สันนิษฐานว่า เจ้าพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ได้นำพันธุ์จากมาเลเซียมาปลูกที่จังหวัดตรังจากนั้นมาก็แพร่หลายไปทั่วประเทศไทย ซึ่งปลูกกันมากทางภาคใต้และอีสาน
                     ชื่อของมะม่วงหิมพานต์มีหลากหลายชื่อ เช่นกาหยู  ยาโหย แต่ที่ประทับใจมากเห็นจะเป็นหัวครก (ออกเสียงสำเนียงใต้)ลูกมะม่วงหิมพานต์เมื่อสุกจะมีทั้งสี เหลืองจัด และสีแดงคล้ำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมประหลาด ส่วนนี้จริงๆ แล้วเป็นผลเทียม ส่วนผลจริงจะเป็นส่วนที่เรียกว่ากันทั่วไปว่า เมล็ด มีรูปร่างคล้ายไต ที่เราผ่าเอาเนื้อข้างในมาคั่วหรือทอดใส่ยำต่างๆ นั่นเอง
                     ผลเทียมที่ยังไม่สุกจะเละ ชาวใต้เขาเอามายำกินกันเรียกว่า ยำหัวครก โดยเอามาสับแบบมะม่วง แล้วบีบน้ำออก ยำกับกุ้งสีคล้ำๆ ได้รสชาติแปลกไปอีก
แบบ  หรือจะเอาไปแกงส้มก็ไม่เลว
                    จะหากินก็คงยากสักหน่อย  แต่ถ้ามีโอกาสขับล่องใต้ตั้งแต่ช่วงจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป  ลองสังเกตทางซ้ายมือ แล้วจะเห็นต้นมะม่วงหิมพานต์ขึ้นเป็นแถวอยู่ริมถนน จะจอดรถลงเก็บยอดบ้างคงไม่มีใครว่า แต่ถ้าในกรุงเทพฯ ตามตลาดเทเวศร์ พรานนก จตุจักร อาจพอมียอดมะม่วงหิมพานต์ให้ลองกินบ้าง
                  ยอดมะม่วงหิมพานต์เป็นผักที่ให้พลังงานสูง รวมถึงโปรตีนจากผัก  เมื่อกินสดๆ ยังให้วิตามินซีที่ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(Collagen) ที่ทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากร่างกายไปใช้ได้เต็มที่วิตามินซีช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาอาหารและลำไส้เพราะวิตามินจะยับยั้งไม่ให้สารในไตร์ท(Nitrite) ที่มีผสมอยู่ในอาหารเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก กุนเชียง ฯลฯ และอาหารอื่นๆ ประเภทอีกหลายชนิด เปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็ง ไนโตรซามิน (Nitrosamine) เมื่อตกถึงกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ใบมะม่วงหิมพานต์ยังให้เบต้า-แคโรทีนวิตามินซีและเกลือแร่เช่นเดียวกับเพื่อนผักใบเขียวเข้มอื่นๆด้วย
              ผักทั้งหลายนอกจากความอร่อยที่แตกต่างในมื้ออาหารแล้ว ยังให้คุณค่าอีกมากมายที่เราไม่เคยนึกถึง ในขณะที่สภาพสิ่งแวดล้อม สภาวะสังคมเสื่อมลง เราน่าจะหาสิ่งที่เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับตัวเองบ้าง
               ให้โอกาสกับผักสีเขียวได้ร่วมสร้างบ้างเถอะ
ชื่อผัก : มะม่วงหิมพานต์
ชื่อวิทยาศาสตร์: Anacardium occidentale Linn.
วงศ์: Anacardiaceae

ตารางแสดงคุณค่าอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม
พลังงาน
โปรตีน
ไขมัน
คาร์โบไฮเดรต
กิโลแคลอรี
กรัม
100
5.2
0.6
23.1

ตารางแสดงคุณค่าอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม
แคลเซียม
ฟอสฟอรัส
เหล็ก
วิตามินบี 1
วิตามินบี2
ไนอาซิน
วิตามินซิ
มิลลิกรัม
-
-
-
0.01
0.01
1.4
89

ตารางแสดงคุณค่าอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม
เบต้า-แคโรทีน
ใยอาหาร
RE
กรัม
103*
-

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย .2535.
*วิเคราะห์โยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
 RE ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล
ไม่มีการวิเคราะห์
                      


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น