มันสำปะหลัง แหล่งโปรตีนเดนตาย


มันสำปะหลัง  Cassava

            คนในเมืองแม้ชีวิตไม่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังมากไปกว่าได้เจอกันบ้างตามแผงน้ำแข็งไสหรือขนมหวานในรูปของมันเชื่อมเนื้อเหนียวหนับราดน้ำกะทิเข้มข้น แต่ชื่อของหัวมันชนิดนี้ก็เป็นที่คุ้นหูกันดี เพราะ ม็อบมันสำปะหลังก่อหวอดอยู่บ่อยๆ ในระยะหลังๆ
          แต่สำหรับคนต่างจังหวัด มันสำปะหลังเป็นทั้งอาหาร ขนม พืชที่ลงแรงปลูกและสินค้าที่ขายได้
                ยิ่งถ้าเป็นคนแอฟริกา มันสำปะหลังยิ่งมีความสำคัญ เพราะคนที่นั่นเขากินและปลูกมันสำปะหลังกันเป็นล่ำเป็นสัน จนได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังถึงร้อยละ 40 ในตลาดโลกทีเดียว ผลผลิตแหล่านี้มีอุตสาหกรรมหลายประเภทรองรับ ทั้งแป้งมันสำปะหลัง ผู้ผลิตอาหารสัตว์ และอัลกอฮอล์
          มันสำปะหลังเป็นพืชที่บึกบึนทรหดราวกับนักรบเดนตายที่ปรับตัวได้ทุกสภาวการณ์ แม้แต่ที่ทุรกันดารก็ยังโตเอา โตเอา เพราะมีระบบการดูดซึมแร่ธาตุในดินอันทรงประสิทธิภาพ ว่ากันว่า ดินได้ที่เคยผ่านการปลูกมัน เป็นต้องจืดสนิท ไม่เหลือชิ้นดี หรือถ้าเดิมจืดอยู่แล้วก็จะจืดยิ่งกว่าเดิมอีก
                 ส่วนที่เรารู้จักมันชนิดนี้ที่สุดก็คือส่วนหัวที่เมื่อนำมาปรุงอาหารจะพบว่าความแตกต่างได้ 2 แบบใหญ่ คือ มันเลี้ยงสัตว์ ซึ่งแข็งและสุกยากกับมันชนิดนี้ที่คนกินได้ ซึ่งสุกง่ายกว่า คนไทยเราเรียกกันว่า มันห้านาทีแค่หุงต้มไม่นาน เนื้อก็ยุ่ย เหลืองกินได้ตามสบาย
หัวมันสำประหลังเป็นแหล่งพลังงานล้วนๆ มีแร่ธาตุหรือสารอาหารอื่นๆ ที่จะไห้คุณค่าไม่มากนัก ส่วนใบเสียอีกที่ผู้รู้ด้านอาหาร พากันยกนิ้วให้ในฐานะแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูงกว่าใบเขียวๆ หลายชนิดแม้ว่าโปรตีนจากพืชจะสนองความต้องการของร่างกายได้สมบูรณ์ไม่เท่าโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ แต่ปริมาณที่ได้พบในมันสำประหลังก็มากพอที่จะเป็นแหล่งที่น่าสนใจได้ที่เดียว
   ใบมันสำประหลังสีเขียวสด รูปร่าง ห้าฉกคล้ายมือคนเราได้รับการวิเคราะห์โดยละเอียดแล้ว พบว่าเป็นแหล่งรวมของ กรดอะมิโนที่เป็นโปรตีนมากมายหลายชนิด จะขาดตกบกพร่องไปบ้างก็เพียงส่วนน้อย เช่น เมทไธโอนีน(methionioe) เป็นต้น แต่โดยรวมแล้วจัดว่าเกินขีด มาตราที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอกำหนดเอาไว้ด้วยสาเหตุนี้กระมังตามบ่อเลี้ยงปลากินพืช เช่นปลานิล ฯลฯ จึงหันมาปลูกมันสำประหลังไว้ริมขอบสระเพื่อหักใบสดลงให้ปลานิลกินเป็นอาหารเสริมจนลำตัวอวบอ้วนตัวสั้นกันไปทั้งบ่อ เสียอย่างเดียวตรงที่ลำต้นและมันสำประหลังมีสารอาหารที่ก่อพิษแก่คนและสัตว์ที่กินได้ สารที่ว่านี้คือ ไซยาไนต์ ซึ่งมีอยู่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ต้นเติบโต รวมทั้งพันและอายุของต้น พิษดังกล่าวเกิดได้แบบเฉียบพลัน  แต่ค่อยเป็นค่อยไปโดยการสะสมทีละเล็กทีละน้อย อย่างไรก็ตามการทำมันให้สุกเสียก่อนกิน แก้ปัญหาพิษภัยที่ว่านี้ได้
                 ยอดมันสำประหลังที่กินได้ ไม่มีพิษ เป็นมันที่ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า มันห้านาทีซึ่งเป็นพันธุ์ที่เพื่อใช้ปรุงอาหารสำหรับมนุษย์ ใบยอดของต้นมันสำประหลังชนิดก้านใบจะเป็นสีแดงออกม่วงสำหรับมันสำประหลังเลี้ยงสัตว์ ยอดเป็นสีเขียวสด แบบนั้นเคยมีคนเด็ดมากินกับส้มตำ น้ำลายฟูมปากมามากแล้ว สำหรับชาวบ้านที่มีอาชีพปลูกมันสำประหลังสำหรับสัตว์เลี้ยง ลองหามันห้านาทีปลูกแซมดูบ้าง
          หากรู้วิธีเลือกกินสักหน่อย ใบก็ยังเป็นแหล่งโปรตีนที่น่าจับตามองสำหรับท้องที่ซึ่งทุรกันดารห่างไกล เพราะหาง่าย ราคาถูก นอกจากนี้ เนื้อจากหัวมันก็ยังให้ความอิ่มท้อง ควบคู่ไปกับความอร่อยได้ในยามคับขัน ขาดแหล่งโปรตีนหรือพลังงานเฉพาะหน้ามันสำประหลังจึงช่วยกอบกู้สถานการณ์ได้ดี สมกับเป็นนักรบเดนตายที่ไม่เลือกถิ่นที่อยู่ ทว่าประสิทธิภาพเยี่ยม
                 หากจะปลูกมันสำประหลังไว้กินสักต้น ก็ทำได้ง่ายๆโดยเอาต้นมาสับเป็นท่อนๆ ยาว 6 นิ้ว ขุดหลุมฝังดินไว้ไม่นานก็จะมีต้นโผล่มาให้เห็น พออายุ 3-4 เดือนก็หักยอดอ่อนมาลวกจิ้มน้ำพริกหรือรองหอหมกได้ พออายุ 8-10 เดือนก็ขุดหัวมันมาเชื่อมกินได้
                ใครไม่เคยลองชิมใบมันสำประหลังห้าแฉก ต้องหาโอกาสสักครั้งมิฉะนั้นอาจโดนปลานิลหัวเราะเยาะให้เป็นที่ครื้นเครง สะท้านบ่อปลา
          ชื่อผัก มันสำประหลัง
          ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manihot esculenta Crantz.
          วงค์ : Euphorbiaceae


ตารางแสดงคุณค่าอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม

พลังงาน
โปรตีน
ไขมัน
คาร์โบไฮเดรต

กิโลแคลอรี
กรัม
หัว
129
0.8
0.2
30.9
ใบ
60*
6.90*
1.30*
9.20*

ตารางแสดงคุณค่าอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม
แคลเซียม
ฟอสฟอรัส
เหล็ก
วิตามิน1
วิตามินบี2
ไนอาซิน
วิตามินซี
มิลลิกรัม
33.00
10
0.6
0.79
0.24
Tr.
60
144*
68*
2.80*
0.16*
0.32*
1.80*
82*

ตารางแสดงคุณค่าอาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม
เบต้า-แคโรทีน
ใยอาหาร
RE
กรัม
-
-
1344.58**
-
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย 2535.
*กองโภชนาการ  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนทีกินได้ 100 กรัม.2530
**วิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
RE ไมโคกรัมเทียบหน่วยเรตินัล
tr  มีปริมาณเล็กน้อย

- ไม่มีการวิเคราะห์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น